เมนู

ละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะแม้นั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ
เวทนาที่เป็นกิริยาในวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ เวทนาที่เป็นกิริยาในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาใดหยาบ เวทนานั้นทราม. เวทนา
ใดละเอียด เวทนานั้นประณีต.

ว่าด้วยนิเทศเวทนาทูรทุกะ

(บาลีข้อ 13)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาทูรทุกะ (ไกลใกล้) ต่อไป.
เวทนาเป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาไกล จากเวทนาที่เป็นกุศลและ
อัพยากต ด้วยอรรถว่าไม่เสมอกัน และด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน บัณฑิต
พึงทราบความที่เวทนาเป็นสภาพไกล ในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
จริงอยู่ แม้ว่าคน 3 คนผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาที่เป็นอกุศลเป็นต้น
และพร้อมด้วยเวทนามีทุกข์เป็นต้น นั่งในเตียงเดียวกันไซร้ เวทนาเหล่านั้น
ของบุคคลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่า ไกลกัน นั่นแหละ ด้วยอรรถว่าเวทนาไม่เสมอ
กัน และด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน. แม้ของในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาของ
บุคคลผู้เข้าสมาบัติเป็นต้น.
ส่วนเวทนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาใกล้ ด้วยอรรถว่ามีส่วน
เสมอกัน และด้วยอรรถว่าเหมือนอกุศล บัณฑิตพึงทราบความที่เวทนาเป็น
สภาวะใกล้ในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ก็ถ้าบุคคล 3 คน ผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนา
มีอกุศลเป็นต้น คนหนึ่งเกิดในกามภพ คนหนึ่งเกิดในรูปภพ คนหนึ่งเกิดใน
อรูปภพ เวทนาเหล่านั้น ของบุคคลแม้เหล่านั้น ชื่อว่า เวทนาใกล้กันทั้งนั้น
ด้วยอรรถว่าเสมอกัน และด้วยอรรถว่าคล้ายกัน. แม้ในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย
เวทนามีกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในข้อว่า ตํ ตํ วา ปน นี้ไม่พึงแลดูนัยที่กล่าวในหนหลัง พึง
กล่าวด้วยอำนาจ ตังตังวาปนกนัย นั่นแหละ แต่เมื่อจะกล่าวไม่ควรยก
เวทนาใกล้จากเวทนาไกล แต่พึงยกเวทนาไกลจากเวทนาใกล้ เพราะเวทนาที่
เป็นอกุศล มี 2 อย่าง คือ เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ และสหรคตด้วยโทสะ.
ในเวทนา 2 เหล่านั้น เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ ชื่อว่า เวทนาใกล้
เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ,
แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ
ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ
ที่เป็นนิยตะ* ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะความเป็นสภาพยั่งยืน ชื่อว่า อนิยตะ
เพราะความเป็นสภาพไม่ยั่งยืนอย่างนั้น. พึงทราบเวทนาแต่ละส่วนว่าเป็น
เวทนาใกล้โดยเวทนาที่เป็นส่วนนั้น ๆ นั่นแหละ และเวทนานอกนี้พึงทราบว่า
เป็นเวทนาไกลจากส่วนนอกนี้ คล้อยตามเวทนาทั้งปวงอันต่างด้วยเวทนาที่ตั้ง
อยู่ตลอดกัป เวทนาที่เป็นอสังขาริก สสังขาริก และเวทนาอันต่างด้วยธรรมมี
ทิฏฐิคตสัมปยุตเป็นต้นในบรรดาจิตที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นต้น ด้วยอำนาจ
แห่งถ้อยคำอันข้าพเจ้าให้พิสดารในนิเทศโอฬาริกทุกะนั่นแล.
เวทนาขันธนิเทศ จบ

3. สัญญาขันธนิเทศ

(บาลีข้อ 14)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ ต่อไป.
บทว่า ยา กาจิ สญฺญา (สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงถือเอาสัญญาที่เป็นไปในภูมิ 4. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา
* คำว่า นิยตะ หมายถึงยั่งยืน คือ เกิดติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นในนรก.